top of page
Academic-based workshop
จากงานวิจัยที่เชื่อถือได้
Compass workshop
การเปรียบเทียบผลของการวัดบุคลิกภาพโดยวิธีทำแบบทดสอบและ
วิธีสังเกตพฤติกรรม จากการทำกิจกรรม
A Comparison on Personality assessment between paper test and behavioural observations.
วิริยะ ฤชัยพาณิชย์ นักวิจัย กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิกระทรวงศึกษาธิการ
บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ เพื่อเปรียบเทียบผลการประเมินที่ ได้จากการวัดบุคลิกภาพ
โดยวิธีทำแบบทดสอบเปรียบเทียบกับผลการประเมินที่ ได้จากการสังเกตในการทำกิจกรรม
กลุ่มวิจัยที่ใช้เป็นนักเรียนมัธยมศึกษาตอน ต้นจำนวน 3 กลุ่ม กลุ่มละ 5 คน
และนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย 3 กลุ่ม กลุ่มละ 5คน
โดยใช้การ สุ่มแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล
ซึ่งประกอบด้วย
1. แบบวัดบุคลิกภาพ และ แบบบันทึกพฤติกรรมจากการสังเกต โดยพัฒนาจากทฤษฎีการเลือกอาชีพ ของ จอห์น แอล ฮอลแลนด์ (John L. Holland)
2. แบบวัดความเชื่อมั่นในผลการประเมินสำหรับนักเรียน ขั้นตอนการดำเนินการ
1. ให้นักเรียนทุกคนทำแบบทดสอบและเก็บข้อมูล
2. แบ่งนักเรียนกลุ่มละ 5 คน ตามระดับการศึกษาเข้าทำกิจกรรมที่ได้รับการออกแบบ
เป็นการเรียนรู้ตามแนวทาง ความคิดสร้างสรรค์เป็นฐาน ( Creativity-based learning) และให้ผู้สังเกตบันทึกพฤติกรรม
3. ให้นักเรียนกลุ่มเดิมทำกิจกรรมที่ออกแบบไว้แล้ว โดยเปลี่ยนผู้บันทึกพฤติกรรม
4. ให้นักเรียนสลับกลุ่มทำกิจกรรมที่ออกแบบไว้แล้ว และให้ผู้สังเกตบันทึกพฤติกรรม ผลจากการวิจัย เปรียบเทียบความแตกต่าง ระหว่างผลการประเมินบุคลิกภาพจากการทำแบบทดสอบและ จากการทำกิจกรรม ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย
พบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมี นัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05
เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างผลการประเมินบุคลิกภาพจากการทำแบบทดสอบและ จากการทำกิจกรรม ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น
มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญ ทางสถิติที่ระดับ .05
นักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นที่ทำการวัดบุคลิกภาพจากการทำแบบทดสอบ มีความพึง พอใจในผลการประเมินในระดับค่อนข้างมาก ค่าเฉลี่ย 3.9 คะแนน (จาก 5 คะแนน)
นักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายที่ทำการวัดบุคลิกภาพจากการทำแบบทดสอบมีความพึง พอใจในผลการประเมินในระดับค่อนข้างมาก ค่าเฉลี่ย 3.6 คะแนน (จาก 5 คะแนน)
นักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นที่ทำการวัดบุคลิกภาพบุคลิกภาพจากการทำกิจกรรม มีความ พึงพอใจในผลการประเมินในระดับมากค่าเฉลี่ย 4.3 คะแนน (จาก 5 คะแนน)
นักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายที่ทำการวัดบุคลิกภาพจากการทำแบบทดสอบมีความพึง พอใจในผลการประเมินในระดับมาก ค่าเฉลี่ย 4.5 คะแนน (จาก 5 คะแนน) ผลการบันทึกพฤติกรรมโดยเปลี่ยนผู้ทำการบันทึกมีความสอดคล้องกัน r=0.76 ผลการวัดบุคคลิกภาพของนักเรียนเมื่อมีการสลับกลุ่มไม่มีความแตกต่างจากจากเดิม r=0.84
สรุปผลจากการวิจัย การวัดบุคลิกภาพด้วยวิธีทำแบบทดสอบและด้วยวิธีบันทึกโดยผู้สังเกตให้ผลการประเมินที่ แตกต่างกัน แต่การวัดผลจากทั้งสองวิธีนักเรียนมีความพึงพอใจในผลการประเมินไม่แตก ต่างกัน การทำการบันทึกพฤติกรรมของผู้ทำการบันทึกแต่ละคนมีการบันทึกไม่แตกต่างกัน บ่งบอกถึงคุณภาพความเชื่อมั่นของแบบบันทึก และการวัดผลจากการบันทึกพฤติกรรมเมื่อ มีการสลับกลุ่มได้ผลการวัดที่ไม่ต่างจากเดิม บ่งบอกความเชื่อมั่นของกิจกรรม
bottom of page